หลักสูตรกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน


หลักสูตรกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

 วิสัยทัศน์

การศึกษาขั้นพื้นฐาน  มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้  คุณธรรม  มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก   ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย  อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข   มีความรู้             และทักษะพื้นฐาน รวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ  การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต  โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า  ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้   เต็มตามศักยภาพ  

หลักการ

การศึกษาขั้นพื้นฐานมีหลักการที่สำคัญ  ดังนี้

เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ  มีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐาน  ของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล

ป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชนที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค  และมีคุณภาพ

.  เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ  ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น

.  เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้  เวลา  และการจัด           การเรียนรู้

.  เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

.  เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ  นอกระบบ   และตามอัธยาศัย  ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย  สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์  

 

จุดหมาย

การศึกษาขั้นพื้นฐาน   มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี  มีปัญญา มีความสุข  มีศักยภาพ         ในการศึกษาต่อ  และประกอบอาชีพ   จึงกำหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียน  เมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน   ดังนี้

๑.  มีคุณธรรม  จริยธรรม  และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง   มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ  ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร  การคิด  การแก้ปัญหา   การใช้เทคโนโลยี  และมีทักษะชีวิต

๓.  มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย

๔.  มีความรักชาติ  มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก   ยึดมั่นในวิถีชีวิต   และการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

๕.  มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย  การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม  มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม  และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข   

 

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

การศึกษาขั้นพื้นฐานมุ่งให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ  ๕  ประการ  ดังนี้

.  ความสามารถในการสื่อสาร  เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร  มีวัฒนธรรม     ในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด  ความรู้ความเข้าใจ  ความรู้สึก  และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์  อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้ง     การเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง  ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสาร  ที่มีประสิทธิภาพ            โดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม

.  ความสามารถในการคิด  เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์  การคิดสังเคราะห์      การคิดอย่างสร้างสรรค์  การคิดอย่างมีวิจารณญาณ  และการคิดเป็นระบบ  เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม

.  ความสามารถในการแก้ปัญหา  เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ              ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล  คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ  เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม  แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา  และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบ  ที่เกิดขึ้นต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม

.  ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต   เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง  ๆ ไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  การทำงาน และการ    อยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล  การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น

.  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี  เป็นความสามารถในการเลือก และใช้ เทคโนโลยี    ด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี  เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคมในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน  การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม

 

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

การศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถ       อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข  ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก   ดังนี้

๑.  รักชาติ  ศาสน์ กษัตริย์

๒.  ซื่อสัตย์สุจริต

มีวินัย

๔.  ใฝ่เรียนรู้

๕.  อยู่อย่างพอเพียง

.  มุ่งมั่นในการทำงาน

๗.  รักความเป็นไทย

.  มีจิตสาธารณะ

   

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

          กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  มุ่งให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองตามศักยภาพ  พัฒนาอย่างรอบด้าน    เพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม เสริมสร้างให้เป็นผู้มีศีลธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย  ปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกของการทำประโยชน์เพื่อสังคม สามารถจัดการตนเองได้  และอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  แบ่งเป็น ๓ ลักษณะ ดังนี้

          ๑.  กิจกรรมแนะแนว

    เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเอง รู้รักษ์สิ่งแวดล้อม สามารถคิดตัดสินใจ คิดแก้ปัญหา กำหนดเป้าหมาย วางแผนชีวิตทั้งด้านการเรียน และอาชีพ สามารถปรับตนได้อย่างเหมาะสม  นอกจากนี้ยังช่วยให้ครูรู้จักและเข้าใจผู้เรียน  ทั้งยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยเหลือ      และให้คำปรึกษาแก่ผู้ปกครองในการมีส่วนร่วมพัฒนาผู้เรียน

          .  กิจกรรมนักเรียน

          เป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาความมีระเบียบวินัย  ความเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี  ความรับผิดชอบ                การทำงานร่วมกัน  การรู้จักแก้ปัญหา  การตัดสินใจที่เหมาะสม  ความมีเหตุผล  การช่วยเหลือแบ่งปันกัน   เอื้ออาทร  และสมานฉันท์  โดยจัดให้สอดคล้องกับความสามารถ ความถนัด  และความสนใจของผู้เรียน ให้ได้ปฏิบัติด้วยตนเองในทุกขั้นตอน ได้แก่  การศึกษาวิเคราะห์วางแผน ปฏิบัติตามแผน ประเมินและปรับปรุงการทำงาน  เน้นการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม  ตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับ วุฒิภาวะของผู้เรียน  บริบทของสถานศึกษาและท้องถิ่น  กิจกรรมนักเรียนประกอบด้วย

     .  กิจกรรมลูกเสือ  เนตรนารี  ยุวกาชาด  ผู้บำเพ็ญประโยชน์  และนักศึกษาวิชาทหาร 

     ๒.๒  กิจกรรมชุมนุม ชมรม

     .๓  กิจกรรมพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 

.  กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์

     เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน และท้องถิ่น ตามความสนใจในลักษณะอาสาสมัคร  เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบ ความดีงาม ความเสียสละ    ต่อสังคม  มีจิตสาธารณะ  เช่น  กิจกรรมอาสาพัฒนาต่าง ๆ  กิจกรรมสร้างสรรค์สังคม

  

โครงสร้างหลักสูตรกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 

***********************************

                        

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

เวลาเรียน

ม. ๑

ม. ๒

ม. ๓

กิจกรรมแนะแนว

๒๐

๒๐

๒๐

๒๐

๒๐

๒๐

กิจกรรมนักเรียน

 

 

 

 

 

 

     กิจกรรมลูกเสือ/เนตรนารี

๒๐

๒๐

๒๐

๒๐

๒๐

๒๐

     กิจกรรมชุมนุม

๑๐

๑๐

 ๑๐

๑๐

๑๐

 ๑๐

กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์**

๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐

กิจกรรมพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์*

-

-

-

-

-

-

  

หลักสูตรกิจกรรมแนะแนว

 มาตรฐานกิจกรรมแนะแนว

มาตรฐานที่ ๑รู้ เข้าใจ และเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น

มาตรฐานที่ ๒มีความสนใจ  แสวงหา  และใช้ข้อมูลสารสนเทศ

มาตรฐานที่ ๓ :  มีความสามารถในการตัดสินใจ  และแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม

มาตรฐานที่ ๔มีความสามารถในการปรับตัว และการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

มาตรฐานที่ ๕มีทักษะในการจัดการ การทำงาน มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ

 

มาตรฐานการเรียนรู้

 

มาตรฐานที่ ๑  :  รู้  เข้าใจ  และเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น

มาตรฐานการเรียนรู้ที่  ๑.   :  รู้และเข้าใจสาเหตุความต้องการและปัญหาของตนเอง

มาตรฐานการเรียนรู้ที่  ๑.  :  แสวงหาเอกลักษณ์ที่เป็นแบบอย่างที่ดีและเหมาะสม กับตนเอง

มาตรฐานการเรียนรู้ที่ ๑.  :   รู้และเข้าใจความสนใจ  ความถนัด ความสามารถด้านการเรียน อาชีพ  บุคลิกภาพของตนเอง

มาตรฐานการเรียนรู้ที่  ๑.  :  รักและนับถือตนเองและผู้อื่น

มาตรฐานการเรียนรู้ที่  ๑.  :  พึ่งตนเองได้

มาตรฐานการเรียนรู้ที่  ๑.  :  มีบุคลิกภาพที่ดี 

มาตรฐานที่ ๒  :  มีความสนใจ  แสวงหา  และใช้ข้อมูลสารสนเทศ

มาตรฐานการเรียนรู้ที่  ๒.  :   สามารถค้นคว้ารวบรวม  วิเคราะห์ข้อมูลเฉพาะด้านจากแหล่งต่าง  ๆ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย

มาตรฐานการเรียนรู้ที่  ๒.  :  สามารถเลือกสรรและใช้ข้อมูลสารสนเทศให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม

มาตรฐานการเรียนรู้ที่  ๒.  :  สามารถแสวงหาและใช้ข้อมูลสารสนเทศ 

มาตรฐานที่ ๓  :   มีความสามารถในการตัดสินใจ  และแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม

มาตรฐานการเรียนรู้ที่ ๓.  :  สามารถตัดสินใจและแก้ปัญหาของตนเอง ร่วมตัดสินใจ  แก้ปัญหาเกี่ยวกับครอบครัวและโรงเรียน

มาตรฐานที่ ๔  มีความสามารถในการปรับตัว และการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

          มาตรฐานการเรียนรู้ที่ ๔.  :  เข้าใจและยอมรับความแตกต่างและความคิดเห็น  ของผู้อื่นอย่างมีเหตุผล

          มาตรฐานการเรียนรู้ที่ ๔.  :  สามารถสื่อสารความคิด ความรู้สึก ให้ผู้อื่นเข้าได้เหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล

          มาตรฐานการเรียนรู้ที่ ๔.  :  สามารถจัดการกับอารมณ์และการแสดงออก  อย่างเหมาะสมกับวัยและสถานการณ์

          มาตรฐานการเรียนรู้ที่ ๔.  :  ปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

          มาตรฐานการเรียนรู้ที่ ๔.  :  สามารถทำตามบทบาทในฐานะผู้นำและผู้ตามที่ดี  และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข 

มาตรฐานที่ ๕  :   มีทักษะในการจัดการ การทำงาน มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ

          มาตรฐานการเรียนรู้ที่ ๕.  :  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการัดการและการทำงาน

          มาตรฐานการเรียนรู้ที่ ๕.  :  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโลกกว้างทางอาชีพ  มีเจตคติ  ที่ดีและสามารถเลือกประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับตนเองได้