ประวัติโรงเรียนเบ็ตตี้ดูเมน 2 ช่องเม็ก  (ช่องเม็กวิทยา)

 

             โรงเรียนช่องเม็กวิทยา เดิมเป็นสาขาโรงเรียนสิรินธรวิทยานุสรณ์   กรมสามัญศึกษาได้อนุญาตให้ดำเนินการ  จัดตั้งขึ้นตามหนังสือด่วนมากที่  อบ  (สศจ.)  0030/10576  ลงวันที่  21 มีนาคม  2534   ในช่วงแรกได้อาศัย
อาคารเรียนโรงเรียนอุตสาหกรรมป่าไม้
17 เป็นที่ทำการเรียนการสอน  เปิดรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1   จำนวน ห้องเรียน   มีนักเรียน 30 คน  โรงเรียนแต่งตั้งนายบุญรอด บุญประสาร 
เป็นผู้ประสานงานโดยมี นายอุทิศ  ตันแก้ว 
ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ในขณะนั้น 


รูปที่ 1
ช่วงอาคารเรียนหลังแรก
 


รูปที่ 2  ในช่วงโรงเรียนเกิดพายุ

    ปีการศึกษา  2535  ได้ย้ายมาทำการเรียนการสอนที่อาคารเรียนชั่วคราวที่ผู้ปกครองนักเรียนและสภาตำบลช่องเม็กได้ร่วมกันสร้างขึ้น  บนพื้นที่สาธารณะประโยชน์   38 ไร่3 งาน 4 ตารางวา โรงเรียนได้แต่งตั้งนายวิชาการ  รูปพรหม  เป็นผู้ประสานงานสาขา  มีนักเรียนชั้น ม.1  จำนวน  38  คน  ชั้น ม.2  จำนวน  30  คน  รวมมีนักเรียนทั้งสิ้น 68 คน   

ปีการศึกษา 2537 กรมสามัญได้จัดสรรตำแหน่งครูเพิ่ม  1  อัตรา  มีจำนวนนักเรียน 3  ห้องเรียน  จำนวนนักเรียนชั้นม. 1 จำนวน 44  คน ชั้นม.2 จำนวน 45 คน ชั้นม.3 จำนวน 35 คน มีนักเรียนทั้งสิ้น 124  คน

  ปีการศึกษา 2538 มีจำนวนนักเรียน 3  ห้องเรียน จำนวนนักเรียนชั้นม. 1 จำนวน 58  คน ชั้นม.2 จำนวน 38 คน ชั้นม.3 จำนวน 35 คน รวมจำนวนนักเรียนทั้งสิ้นจำนวน 131  คน

                  ปีการศึกษา  2539  โรงเรียนสิรินธรวิทยานุสรณ์ได้แต่งตั้ง   นายสงวน   แสงชาติ   ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนสิรินธร 
วิทยานุสรณ์  เป็นผู้ประสานงานโรงเรียนสาขาแห่งนี้   ซึ่งในขณะนั้นมีจำนวนนักเรียน 122  คน  แบ่งเป็น  3  ห้องเรียน  คือ  ม.1  จำนวน  41 คน  ม.2  จำนวน  43  คน  และ  ม.3  จำนวน  38  คน
                  เมื่อวันที่   14   มกราคม   2542  กระทรวงศึกษาธิการ
ได้ประกาศตั้งเป็นโรงเรียนช่องเม็กวิทยา
  โดยผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี
ได้อนุญาตให้โรงเรียนใช้พื้นที่สาธารณะประโยชน์เป็นที่ตั้งของโรงเรียนช่องเม็กวิทยา   
บนเนื้อที่  
38 ไร่  3  งาน  4  ตารางวา  ในขณะนั้นมีครู-อาจารย์ประจำ  6 คน   
อาจารย์พิเศษ 
4  คน  และนักการภารโรงจ้าง  1  คน   โดยจัดแผนชั้นเรียน 
2/2/1- 0/0/0 
มีจำนวนนักเรียน  180  คน  แบ่งเป็น  6 ห้องเรียน 


ปที่ 3  ก่อสร้างอาคารเรียนกึ่งถาวร และ อาคารชั่วคราว

  ปีการศึกษา 2540 มีจำนวนนักเรียน 3  ห้องเรียน จำนวนนักเรียนชั้นม. 1 จำนวน 41 คน ชั้นม.2 จำนวน 36 คน ชั้นม.3 จำนวน 38 คน รวมจำนวนนักเรียนทั้งสิ้นจำนวน  115  คน

ปีการศึกษา 2541 มีจำนวนนักเรียน 4 ห้องเรียน จำนวนนักเรียนชั้นม. 1 จำนวน 75 คน ชั้นม.2 จำนวน 45 คน ชั้นม.3 จำนวน 35 คน รวมจำนวนนักเรียนทั้งสิ้นจำนวน  155  คน

เมื่อวันที่   14   มกราคม   2542    กระทรวงศึกษาธิการ    ได้ประกาศตั้งเป็นโรงเรียนช่องเม็กวิทยาและได้แต่งตั้งให้    นายสงวน  แสงชาติ      ดำรงตำแหน่งครูใหญ่

  ปีการศึกษา 2542 มีจำนวนนักเรียน 5  ห้องเรียน จำนวนนักเรียนชั้นม. 1 จำนวน 75 คน ชั้นม.2 จำนวน 70 คน ชั้นม.3 จำนวน 35 คน รวมจำนวนนักเรียนทั้งสิ้นจำนวน  180  คน  มีครูอาจารย์ประจำ 6 คน  อาจารย์พิเศษ 4 คน นักการภารโรงจ้าง 1 คน   และในปี พ.ศ. 2542  โรงเรียนได้รับการคัดเลือกจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคขยายเขตการไฟฟ้าให้กับโรงเรียนขนาด SOKVE เนื่องในวโรกาส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว    มีพระชนม์มายุครบ 72 พรรษา  

                        วันที่ 5 ธันวาคม  2542  โดยไม่ได้ใช้งบจากกรมสามัญศึกษา โดยครูใหญ่นายสงวน  แสงชาติ  ได้รับมอบ  โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จัดสรรงบประมาณให้ทั้งหมด

             ปีการศึกษา 2543  ได้ขออนุญาตกรมสามัญเปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย     แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ จัดแผนการจัดชั้นเรียน 3/2/2-2/0/0  มีจำนวนนักเรียน 255 คน  จำนวน  9  ห้องเรียน  มีครู-อาจารย์ประจำ 6 คน อาจารย์พิเศษ 7 คน  นักการภารโรงจ้าง 2 คน
               ในวันที่ 13 มกราคม 2544   ดร.อธิปัตย์  คลี่สุนทร   รองอธิบดีกรมสามัญ  ได้มาตรวจเยี่ยมโรงเรียนช่องเม็กวิทยา

                    ปีการศึกษา 2544  โรงเรียนจัดแผนชั้นเรียนเป็น 3/3/2/2/2/- จำนวนห้องเรียน 12  ห้องเรียน โดยมีนักเรียนชั้นม.1  มีจำนวน 96 คน   ชั้นม.2 จำนวน 90  คน ชั้นม.3 จำนวน 70  คน ชั้น ม.4 จำนวน  68  คน ชั้น   ม.5  จำนวน 52 คน   รวมจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น  376  คน  มีครูอาจารย์ประจำ 10 คน  อาจารย์พิเศษ10 คน นักการภารโรงจ้าง 2 คน

               ในปี พ.ศ.2544 โรงเรียนได้รับอนุญาตให้เปิดรับสมัครเรียนวิชาทหาร รักษาดินแดน (ร.ด.) เป็นปีแรก และ ปีงบประมาณ 2544  โรงเรียนช่องเม็กวิทยาได้รับการจัดสรรงบประมาณค่าครุภัณฑ์  ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง เป็นเงิน  3,467,000  บาท ( สามล้านสี่แสนหกหมื่นเจ็ดพันบาทถ้วน) เป็นค่าก่อสร้างอาคารเรียนกึ่งถาวร  และอาคาร-ประกอบการเป็นจำนวน 7  รายการ   โรงเรียนได้รับบริจาคเครื่องคอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ  จำนวน 10 เครื่อง  จากโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช จำนวน 6  เครื่อง เพื่อใช้จัดการเรียนการสอน และได้รับบริจาคจากผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 4 เครื่อง พร้อมเครื่องปริ้นเตอร์ครบชุดเพื่อใช้ในการทำงานของคณะครูอาจารย์
            
วันที่ 23 พฤศจิกายน 2544 นายอุดม วัชรสกุณี  ประธานมูลนิธิผู้บริหารโรงเรียนมัธยมแห่งประเทศไทยมาตรวจเยี่ยมโรงเรียนช่องเม็กวิทยา 

                   ปีการศึกษา 2545  โรงเรียนจัดแผนชั้นเรียนเป็น 3/3/3/2/2/2 จำนวนห้องเรียน 15  ห้องเรียน โดยมีนักเรียนชั้นม.1  มีจำนวน 91 คน   ชั้นม.2 จำนวน 96  คน ชั้นม.3 จำนวน 88  คน ชั้น ม.4 จำนวน  58  คน ชั้นม.5 จำนวน 61 คน และ ม.6 จำนวน 44คน รวมจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น  438  คนมีครูอาจารย์ประจำ 10 คน อาจารย์พิเศษ 10 คน นักการภารโรงจ้าง 2 คน

               ในวันที่ 12 มิถุนายน 2545 ท่านขวัญแก้ว   วัชโรทัย  รองเลขาธิการพระราชวัง   ประธานกรรมการมูลนิธิราช-ประชานุเคราะห์  นายสันทัด  จตุชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี นายสุรศักดิ์  ศรีสว่างรัตน์ ผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี และ    คุณสุนีย์  ตริยางกูรศรี     ประธาน-กรรมการบริษัท ก้าวหน้าไก่สด จำกัด  ได้มาตรวจเยี่ยมโรงเรียนใน ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม ซึ่งขณะนั้นโรงเรียนยังขาดอาคารถาวร ไว้รองรับ-จำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นในทุกๆปี  คุณสุนีย์ ตริยางกูรศรี     จึงได้ให้การอนุเคราะห์อาคารเรียนแบบ 216 ล/41  (หลังคาทรงไทย)  จำนวน 1  หลัง  เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 4  รอบ(48พรรษา)  2  เมษายน 2546 

 

               เริ่มดำเนินการก่อสร้าง วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ.2545  และ วันที่  10 ตุลาคม 2545   ได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์  โดย นายชัยสิทธิ์  โหตระกิตย์   ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี  เป็นประธานในพิธี   และ ดร.อธิปัตย์     คลี่สุนทร รองอธิบดีกรมสามัญ เป็นแขกผู้มีเกียรติในพิธีเปิดครั้งนั้นด้วย

               ในวันที่ 23 ตุลาคม 2545 โรงเรียนได้รับบริจาค รถกระบะยี่ห้อ มิสซูบิซิ จากสำนักงาน ป.ป.ส. จำนวน  1 คัน   เพื่อใช้ประโยชน์กับทางราชการ 

                  ปีการศึกษา 2546  โรงเรียนจัดแผนชั้นเรียนเป็น 3/3/3/2/2/2 จำนวนห้องเรียน 15  ห้องเรียน โดยมีนักเรียนชั้นม.1  มีจำนวน 128 คน   ชั้นม.2 จำนวน 91  คน ชั้นม.3 จำนวน 89  คน ชั้น ม.4 จำนวน  58  คน ชั้นม.5 จำนวน 59 คน และ ม.6 จำนวน 44 คน   รวมจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 469  คน มีครูอาจารย์ประจำ 12 คน อาจารย์พิเศษ 9 คน นักการภารโรงจ้าง 3 คน  

           ในวันที่ 12 มิถุนายน  2546  ท่านขวัญแก้ว วัชโรทัย  รองเลขาธิการพระราชวัง   ประธานกรรมการมูลนิธิราชประชา-นุเคราะห์  ได้มาตรวจเยี่ยมการก่อสร้างอาคารเรียน  และการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียน ในวันที่ 4  กรกฏาคม  พ.ศ. 2546 การก่อสร้างอาคารเรียนได้แล้วเสร็จโดยใช้งบประมาณที่ได้รับจากการบริจาค จาก คุณสุนีย์  ตริยางกูรศรี  ประธาน-กรรมการบริษัท ก้าวหน้าไก่สด จำกัด  ในการก่อสร้างอาคารเรียน 216ล./41  (หลังคาทรงไทย) 1 หลัง จำนวนเงิน 13,000,000  บาท พร้อมวัสดุครุภัณฑ์สำนักงาน จำนวน 3,768,620 บาท รวมทั้งสิ้น   เป็นเงินจำนวน 16,768,620 บาท 

           ในวันที่ 22 สิงหาคม 2546 ได้ขอพระราชทาน พระราชานุญาต ชื่อ  “อาคารเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพ-รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระชนมายุครบ 4 รอบ 2 เมษายน 2546 ” พร้อมขอพระราชทานพระราชานุญาต  เชิญอักษรพระนามาภิไธย “ส.ธ.” ประดิษฐานเหนือชื่ออาคารเรียน  และในวันที่ 17 กันยายน 2546 ได้รับพระราชทานพระราชานุญาต ชื่อ อาคารเรียนว่า “อาคารเฉลิมพระเกียรติ 48 พรรษา “ พร้อมพระราชทานพระราชานุญาติให้เชิญอักษรพระนามาภิไธย “ ส.ธ.” มาประดิษฐานเหนืออาคาร 

                 ปีการศึกษา 2547  โรงเรียนจัดแผนชั้นเรียนเป็น 4/3/3/2/2/2 จำนวนห้องเรียน 16  ห้องเรียน โดยมีนักเรียนชั้นม.1  มีจำนวน 152 คน   ชั้น  ม.2 จำนวน 116  คน ชั้นม.3 จำนวน 87  คน ชั้น ม.4 จำนวน  62  คน ชั้นม.5 จำนวน 35 คน และ ม.6 จำนวน 49 คน   รวมจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น  501  คน มีครูอาจารย์ประจำ 13 คน  อาจารย์พิเศษ  9  คน นักการภารโรงจ้าง   1 คน    พนักงานขับรถ  1  คน
                     ในวันที่ 17 มกราคม   2547  โรงเรียนได้ทำพิธีอัญเชิญพระ นามาภิไธย
“สธ” ขึ้นประดิษฐานเหนือ ชื่อ  อาคารเฉลิมพระเกียรติ  48 พรรษา  โดย  คุณหญิง กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการ-การศึกษาขั้นพื้นฐาน  มาเป็นประธานในพิธีอัญเชิญ

              ในวันที่ 13 มิถุนายน  2547  ท่านขวัญแก้ว วัชโรทัย  รองเลขาธิการพระราชวัง   ประธานกรรมการมูลนิธิราช-ประชานุเคราะห์  ได้มาตรวจเยี่ยมชมอาคารเฉลิมพระเกียรติ 48  พรรษา ที่ได้ดำเนินก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว และตรวจเยี่ยมการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียน

                บ้านพักนักเรียนหญิง  มีชื่อว่า  “เรือนนอนร่วมใจ”   แนวคิดของท่านขวัญแก้ว  วัชโรทัย   และมีผู้อุปการคุณร่วมบริจาคเงินในการก่อสร้าง  ดังต่อไปนี้

1.      องค์การบริหารส่วนตำบลช่องเม็ก                                   100,000                 บาท

2.      องค์การบริหารส่วนตำบลโนนก่อ                                   100,000                 บาท

3.      สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค  7  อุบลราชธานี

4.      วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี  อุบลราชธานี

5.      ศูนย์ทรัพยากรน้ำบาดาลภาค  7  อุบลราชธานี

6.      สาธารณสุขอำเภอสิรินธร

7.      นิคมสร้างตนเองลำโดมน้อย

8.      พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จ.อุบลราชธานี

       สร้างเสร็จเมื่อวันที่  10  ธันวาคม  2547   ร่วมก่อสร้างทั้งหมด  490,000  บาท  ( สี่แสนเก้าหมื่นบาทถ้วน ) 

                  ปีการศึกษา  2548    โรงเรียนได้จัดทำแผนจัดชั้นเรียนเป็น  4/4/3/2/2/2 จำนวนห้องเรียน 17 ห้องเรียน โดยมีนักเรียนชั้น  ม.1  มีจำนวน  127 คน   ชั้นม.2 จำนวน  133  คน ชั้นม.3 จำนวน 115  คน ชั้น ม.4 จำนวน  62  คน ชั้นม.5 จำนวน 51 คน และ ม.6 จำนวน 36 คน   รวมจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น  524  คน มีครูอาจารย์ประจำ 12  คน   พนักงานราชการ    8   คน  ครูอัตราจ้าง  1  คน   นักการภารโรงจ้าง   1   คน    พนักงานขับรถ  1  คน

                ได้รับบริจาคเครื่องปรับอากาศ    เครื่องฉายภาพ  3  มิติ  โปรเจ็คเตอร์  ทีวี  และจอรับภาพชนิดแขวนและขาตั้ง  รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  600,591  บาท  ( -หกแสนห้าร้อยเก้าสิบเอ็ดบาทถ้วน- )  โดยบริษัท  สิวะดล  จำกัด

ในวันที่ 18   มิถุนายน  2548  ท่านขวัญแก้ว วัชโรทัย  รองเลขาธิการพระราชวังฝ่ายกิจกรรมพิเศษ    ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม   ได้มาตรวจเยี่ยมชมอาคารเฉลิมพระเกียรติ 48  พรรษา ที่ได้ดำเนินก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ,   เป็นประธานในพิธีเปิดอาคารพยาบาล  ซึ่งบริจาคโดยพระครูพุทธวราธิคุณ  เจ้าอาวาสวัดปากแซง  และศิษยานุศิษย์  งบประมาณ  400,000  บาท  ( -สี่แสนบาทถ้วน- )   ,  ตรวจเยี่ยมบ้านพักเรือนนอนนักเรียนหญิง ,  ตรวจเยี่ยมการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม  การประชุม  การสัมภาษณ์ผ่านระบบ   VDO  Conference  กับโรงเรียนวังไกลกังวล

วันที่  14  กันยายน  2548  ต้อนรับท่านดิลก  พัฒน์วิชัยโชติ   ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ  และคณะ  ได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมโรงเรียนช่องเม็กวิทยา   ได้มาตรวจดูสภาพโรงเรียน   อาคารเรียน   ห้องเรียน  การบริหารงาน   ครู และบุคลากรทางการศึกษาร่วมกันต้อนรับ

ในปีการศึกษา  2549   เมื่อวันที่  29  มิถุนายน  2549  ท่านขวัญแก้ว  วัชโรทัย  รองเลขาธิการพระราชวัง ฝ่ายกิจกรรมพิเศษ  ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม  และคณะกรรมการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม  ได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม  และกิจการต่างๆของโรงเรียน  พร้อมมอบทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่เรียนดีแต่ยากจนจำนวน  50  ทุน  มอบอุปกรณ์การศึกษาและสิ่งของพระราชทานแก่นักเรียนโรงเรียนช่องเม็กวิทยา

             ในปลายปี  พ.ศ.  2549  องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี  ( อบจ.อบ. )  ได้สนับสนุนจัดทำห้องสมุด E – Library  โดยสนับสนุนเครื่องคอมพิวเตอร์  จำนวน  40  เครื่อง  เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนและสืบค้นข้อมูล  พร้อมสนับสนุนจัดทำห้อง LABวิทยาศาสตร์(เคมี)  เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนและการทดลอง

ในปีการศึกษา  2550   เมื่อวันที่  19 กรกฎาคม  2550  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี  ทรงให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนและทรงพระราชทานนามใหม่ จากโรงเรียนช่องเม็กวิทยา เป็นโรงเรียนเบ็ตตี้ดูเมน2 ช่องเม็ก เพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกถึง คุณผู้หญิงเบ็ตตี้ดูเมน  ซึ่งเป็นพระสหายสมเด็จย่า ผู้ซึ่งทำคุณงามความดีให้กับประเทศชาติในด้านการศึกษาและในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 ถึง กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 โรงเรียนเบ็ตตี้ดูเมน 2 ช่องเม็ก  ได้ระดมทุนเพื่อสร้างหอพระพุทธรูป Mr.Chong Ping Ching นักธุรกิจชาวสิงคโปร์ และคณะ พร้อมคณะครู บุคลากร นักเรียนผู้ปกครอง และชุมชน ได้บริจาคจากเงินเพื่อสร้างหอพระพุทธรูปและองค์พระประธาน เป็นเงิน 369,999 บาท โรงเรียนและชุมชนได้ร่วมจัดงานพิธีพุทธาภิเษกองค์พระประธานในวันที่ 16 กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2551 และในเดือนมีนาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี (อบจ.)ได้ให้การสนับสนุนช่วยเหลือจัดทำห้องห้องLABวิทยาศาสตร์(ชีววิทยา) ห้องSOUND-LAB (ปฏิบัติการภาษาต่างประเทศ) ห้องมัลติมีเดีย พร้อมอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 120 เครื่อง  และสนับสนุนงบประมาณในการปรับปรุงอาคารเรียนชั่วคราว เป็นจำนวนเงิน 237,000 บาท

ปีการศึกษา  2551  องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ได้สนับสนุนจัดทำห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์  โดยสนับสนุนเครื่องคอมพิวเตอร์  จำนวน  120  เครื่อง  เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนและการสืบค้นข้อมูล  พร้อมกันนี้ยังสนับสนุนจัดทำห้อง  LAB  วิทยาศาสตร์  เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนและการทดลอง

ปีการศึกษา  2552  องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี  (อบจ.) ได้ให้การสนับสนุนปรับปรุงอาคารเรียนห้องวิทยาศาสตร์  เป็นจำนวนเงิน 160,000 บาท  ปรับปรุงห้องสมุดโรงเรียนเป็นจำนวนเงิน 400,000 บาท และสนับสนุนโต๊ะประชุมหน้าขาว  เป็นจำนวน  83 โต๊ะ

ปีการศึกษา  2553  องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ได้สนับสนุนกระดานอัจฉริยะพร้อมอุปกรณ์  จำนวน  10  เครื่อง  เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน

ปีการศึกษา 2554  องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ได้สนับสนุนกระดานอัจฉริยะพร้อมอุปกรณ์  จำนวน  1  เครื่อง  เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน

ปีการศึกษา 2555  องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ได้สนับสนุนกระดานอัจฉริยะพร้อมอุปกรณ์  จำนวน  12  เครื่อง  และเครื่องคอมพิวเตอร์  จำนวน  160  เครื่อง  เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนและการสืบค้นข้อมูล

ในปัจจุบัน  โรงเรียนเบ็ตตี้ดูเมน 2 ช่องเม็ก  มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น  649  คน  มีข้าราชการครู  26  คน (รวมผู้บริหาร)  เจ้าหน้าที่สนับสนุนการสอน  4 คน   ครูอัตราจ้างรายเดือน  5  คน  พนักงานจ้างตามภารกิจ (นักการภารโรง,คนงานบริการ)  4  คน  โดยมี  นายวัฒนา  เตชะโกมล  เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนคนปัจจุบัน

               ปัจจุบันโรงเรียนเบ็ตตี้ดูเมน 2 ช่องเม็ก  ตั้งอยู่ที่สาธารณะประโยชน์  มีจำนวนพื้นที่   จำนวน 38 –3 – 4  ไร่ ตั้งอยู่ ถนนช่องเม็ก-บุณฑริก  หมู่ที่ 11 บ้านห้วยน้ำใส  ตำบลช่องเม็ก อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานีห่างจากอำเภอสิรินธร 35 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดอุบลราชธานี   106   กิโลเมตร   

            นายสงวน    แสงชาติ   เป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา  ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน  2542   -   6 กุมภาพันธ์ 2560

            นายวัฒนา  เตชะโกมล   เป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา  ตั้งแต่วันที่  7 กุมภาพันธ์ 2560  -  ปัจจุบัน

 


สัญลักษณ์ประจำโรงเรียนเบ็ตตี้ดูเมน 2 ช่องเม็ก



  
สีประจำโรงเรียน

“ ฟ้า – แดง ”

ฟ้า   หมายถึง   ความกว้างไกล
แดง   หมายถึง   ความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว

คติพจน์ของโรงเรียน

“ ปญญา  เยว  ปวฑฒติ ”
( บุคคลก้าวหน้าด้วยปัญญา )


 
ปรัชญาของโรงเรียน

ปัญญาเลิศ   เทิดคุณธรรม   นำสังคม

ที่ตั้งสถานศึกษา

              โรงเรียนเบ็ตตี้ดูเมน 2 ช่องเม็ก  อยู่ติดชายแดนไทยลาว  โดยห่างจากด่านช่องเม็กประตูสู่อินโดจีน 8  กิโลเมตร  
ตั้งอยู่หมู่ที่
11  บ้านสวนป่า  ถนนช่องเม็ก-บุณฑริก  ตำบลช่องเม็ก   อำเภอสิรินธร   จังหวัดอุบลราชธานี  
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี  กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น  กระทรวงมหาดไทย   
โทรศัพท์   0
– 4525 – 2671   หรือ  0 – 4525 – 2672