อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ

อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ มีพื้นที่ประมาณ 50,000 ไร่ ในเขตอำเภอสิรินธรและอำเภอโขงเจียม ภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงและเนินเขาเตี้ยๆ สภาพป่าทั่วไปเป็นป่าแพะหรือป่าแดง ต้นไม้ในป่ามีลักษณะแคระแกรน บางส่วนเป็นทุ่งหญ้า ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2524 ที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำมูลบริเวณแก่งตะนะ
คำว่า “ตะนะ” จากการเล่าขานตามความเชื่อของชาวบ้านและประชาชนทั่วไป เดิมมาจากคำว่า “มรณะ” เนื่องจากบริเวณแก่งตะนะนี้มีกระแสน้ำไหลที่เชี่ยวกราก และมีโขดหินใหญ่น้อยอยู่ทั่วไป ตลอดจนมีถ้ำใต้น้ำอยู่หลายแห่ง ชาวบ้านที่สัญจรทางน้ำหรือออกจับปลา มักประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตอยู่เป็นประจำ ชาวบ้านจึงเรียกแก่งนี้ว่า “แก่งมรณะ” ตามแรงบันดาลจากสภาพของสายน้ำที่ไหลผ่านแก่งนี้ ซึ่งต่อมาเรียกว่า “แก่งตะนะ” จึงตั้งเป็นชื่ออุทยานแห่งชาติ
 
ขนาดพื้นที่
50000.00 ไร่
 
หน่วยงานในพื้นที่
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ กน. 1 (ห้วยหมากใต้)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ กน. 2 (ตาดโตน)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ กน. 3 (เวินบึก)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ กน. 4 (ปากโดม)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ กน. 5 (ป่าหลังภู)


    การเดินทางสามารถไปได้สองเส้นทางคือ
    ใช้ทางหลวงหมายเลข 217 (อุบลราชธานี-พิบูลมังสาหาร-ช่องเม็ก ประมาณ 75 กิโลเมตร) แล้วแยกซ้ายไปตามเส้นทาง 2173 อีก 13 กิโลเมตร ส่วนอีกเส้นทางหนึ่งคือใช้ทางหลวงหมายเลข 2222 ผ่านอ.โขงเจียมประมาณ 4 กิโลเมตร แล้วข้ามแม่น้ำมูลไปอีก 12 กิโลเมตร

    หรืออาจใช้เส้นทางที่ข้ามสันเขื่อนปากมูลก็ได้(กรณีที่เขื่อนเปิด)
 

ภาพแผนที่

ลักษณะภูมิประเทศ
 
สภาพ พื้นที่ทั่วไปเป็นที่ราบ เป็นเขาเตี้ยๆ มีแม่น้ำมูล แม่น้ำโขง และลำโดม ซึ่งแม่สายขนาดกลาง ไกล้เคียงกับแม่น้ำมูล ไหลผ่าน ความสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 200 เมตรจากระดับน้ำทะเล ยอดเขาที่สูงที่สุดคือ ยอดเขาบรรทัด สูงประมาณ 543 เมตร สภาพป่าทั่วไปเป็นป่าแพะหรือป่าแดง จะมีป่าดิบเฉพาะบริเวณริมห้วยใหญ่เท่านั้น สภาพพื้นที่ส่วนมากเป็นหินทรายและพื้นที่ศิลา ส่วนดินเป็นดินลูกรัง ดินบรบือ และดินตะกอน
 
ลักษณะภูมิอากาศ
 
สภาพ พื้นที่ทั่วไปเป็นที่ราบ เป็นเขาเตี้ยๆ มีแม่น้ำมูล แม่น้ำโขง ไหลผ่าน ความสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 200 เมตรจากระดับน้ำทะเล ยอดเขาที่สูงที่สุดคือ ยอดเขาบรรทัด สูงประมาณ 543 เมตร สภาพป่าทั่วไปเป็นป่าแพะหรือป่าแดง จะมีป่าดิบเฉพาะบริเวณริมห้วยใหญ่เท่านั้น สภาพพื้นที่ส่วนมากเป็นหินทรายและพื้นที่ศิลา ส่วนดินเป็นดินลูกรัง ดินบรบือ และดินตะกอน
 

พืชพันธุ์และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ สามารถสำแนกประเภทของสังคมพืชออกได้เป็น

ป่าดิบแล้ง ป่าดิบแล้งในบริเวณอุทยานแห่งชาติมีอยู่เพียงเล็กน้อย ประมาณ 6.96 ตารางกิโลเมตร หรือ 8.354 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ทั้งหมด โดยขึ้นปกคลุมอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ของอุทยานแห่งชาติบริเวณห้วยกระดิน และห้วยหัวเจ้า ป่าชนิดนี้มีลักษณะโครงสร้างทางด้านตั้งประกอบด้วยไม้ที่ขึ้นอยู่ 4 ชั้นระดับด้วยกัน โดยชั้นสูงสุด ประกอบด้วยไม้ชนิดต่างๆ ที่มีความสูงตั้งแต่ 21 เมตรขึ้นไป ได้แก่ ยางนา ตะเคียนหิน กะบก ตะแบก และชนิดอื่นๆ ไม้ชั้นกลาง ซึ่งมีเรือนยอดปกคลุมต่อเนื่อง ประกอบด้วยไม้ขนาดกลางที่มีความสูงตั้งแต่ 15-20 เมตร ไม้ที่พบเห็นโดยทั่วไป ได้แก่ ติ้ว ประดู่ และมะค่าโมง ไม้ชั้นล่าง ประกอบด้วยไม้ขนาดเล็กที่มีความสูงระหว่าง 4-14 เมตร ชนิดไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เหมือด ตีนนก และหว้า

ป่าเต็งรัง ป่าเต็งรังในบริเวณอุทยานแห่งชาติปกคลุมเป็นบริเวณกว้าง กล่าวคือ ครอบคลุมเนื้อที่ 69.97 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 84 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด โดยขึ้นปกคลุมพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติอยู่ทั่วๆ ไป โครงสร้างตามแนวดิ่ง ประกอบด้วยไม้สามชั้น ชั้นบนสุด (Upper Layer) ประกอบด้วย ไม้ที่มีความสูงตั้งแต่ 16 เมตรขึ้นไป เป็นไม้ขนาดใหญ่ ลำต้นค่อนข้างเปล่าตรงขึ้นกระจัดกระจายห่างๆ พันธุ์ไม้ที่พบ ได้แก่ รกฟ้า ประดู่ ไม้ชั้นกลาง ประกอบดด้วยไม้ขนาดกลางที่มีความสูงระหว่าง 15-20 เมตร ขึ้นรวมกันหนาแน่นกว่าชนิดอื่นๆ ไม่ที่เด่นและพบเห็นทั่วไป ได้แก่ เต็ง รัง พลวง แดง เป็นต้น ส่วนไม้ล่าง เป็นไม้ขนาดเล็กที่มีความสูงต่ำกว่า 5 เมตร ลงมา ประกอบด้วย รักทะนง ยอป่า เหมือด เป็นต้น ส่วนไม้พื้นล่าง เป็นพวกลูกไม้ต่างๆ ปรงป่า


สัตว์ป่าที่พบในเขตอุทยานแห่งชิแก่งตะนะ สามารถจำแนกเป็น

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ส่วนใหญ่จะเป็นสัตว์ขนาดกลางและขนาดเล็กมีอยู่ชุกชุมทางด้านทิศตะวันออกของ อุทยานแห่งชาติบริเวณเทือกเขาบรรทัด เช่น กวาง หมีหมาหรือหมีคน อีเก้งหรือฟาน หมูป่า กระต่ายป่า สัตว์จำพวกกระรอก กระแต ตัวลิ่นหรือนิ่ม สัตว์จำพวกแมวป่า ขนาดเล็ก จำพวกอีเห็นอีกหลายชนิด เป็นต้น

สัตว์ปีก จากการสำรวจของคณะเจ้าหน้าที่อุทยาแห่งชาติแก่งตะนะ ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล สำรวจเบื้องต้น พบนกในอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ มีจำนวน 48 ชนิด ประกอบด้วย เหยี่ยวแดง นกกระปูดใหญ่ นกเค้าโมง นกนางแอ่น นกแซงแซวหงอกขน นกแซงแซวสีเทา นกกระจี๊ดธรรมดา นกกระจี๊ดสีคล้ำ นกจับแมลงหัวเทา นกจับแมลงคอแดง นกอุ้มบาตร์ นกเด้าดินสวน นกกินปลี นกปรอดทอง นกพญาไฟสีกุหลาบ เป็นต้น

สัตว์เลื้อยคลาน ที่พบโดยทั่วไป ตะกวดหรือแลน ตุ๊กแก แย้ งูจงอาง งูเห่า และงูอื่นๆ ทั้งที่มีพิษและไม่มีพิษอีกหลายชนิด ตลอดจนดพบพวกจิ้งจก จิ้งเหลน และกิ้งก่า กะท่าง กิ่งก่าอีก หลายชนิด

สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ที่พบได้แก่ กบ คางคก อึ่งอ่าง ปาด และเขียดหลายชนิดแต่ยังมิได้มีการสำรวจแจกแจงชนิดอย่างละเอียด

ปลา เนื่องจากอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะมีอาณาเขตติดต่อกับแม่น้ำใหญ่ถึง 2 สาย คือแม่น้ำโขงและแม่น้ำมูล จึงมีพันธ์ปลาจำนานมากอาศัยอยู่ พบรวบรวมได้ 139 ชนิด จัดอยู่ใน 23 วงศ์ 10 อันดับ เป็นวงศ์ปลาตะเพียน 68 ชนิด วงศ์ปลาสวาย 10 ชนิด วงศ์ปลาเนื้ออ่อน 9 ชนิด วงศ์ปลากด 9 ชนิด และวงศ์ปลาอื่นๆอีก 43 ชนิด ปลาส่วนใหญ่เหมือนกับปลาที่มีอยู่ในภาคอื่นๆ เช่น ปลาตะเพียนขาว ปลากระสูบ ปลาเทโพ ปลากราย ปลายี่สก ปลากระโห้ ปลาโกก แต่มีปลาหลายชนิดที่ไม่พบในแหล่งน้ำอื่น เช่น ปลาหมากยางหรือปลามงโกรย และปลาบึก ปลาดุกมูล ปลาช่อนกั้ง และสัตว์น้ำ ที่เป็นสัตว์ที่พบในพื้นที่ เช่น ปูภูเขา กระตาม ปูสีส้ม เป็นต้น

 
การเดินทาง
 
รถยนต์
อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ อยู่ห่างจากจังหวัดอุบลราชธานีประมาณ 90 กิโลเมตร และสามารถเดินทางมาได้ 2 เส้นทาง คือ

• จากจังหวัดอุบลราชธานีไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 217 ผ่านอำเภอวารินชำราบ กิ่งอำเภอสว่างวีระวงศ์ ถึงอำเภอพิบูลมังสาหาร แยกเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2173 ผ่านอำเภอสิรินธร ถึงสามแยกตลาดนิคม 2 เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2296 สุดทางจะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ

• จากจังหวัดอุบลราชธานีไปตามเส้นทางเดียวกับเส้นทางแรก เมื่อถึงอำเภอพิบูลมังสาหารเลี้ยวซ้ายข้ามสะพานพิบูลมังสาหาร 200 ปี เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2222 (ถนนพิบูลมังสาหาร-โขงเจียม)
1. ก่อนถึงอำเภอโขงเจียม ประมาณ 4 กม. เลี้ยวขาวผ่านสันเขื่อนปากมูล ประมาณ 1.2 กม. ถึงสามแยก เลี้ยวซ้าย ถึงด่านแก่งตะนะ
2. ผ่านเข้าตัวอำเภอโขงเจียม ข้ามสะพานโขงเจียมไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2173 ถึงบ้านหนองชาด ซึ่งห่างจากอำเภอโขงเจียม 6 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าสู่เส้นทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2296 สุดเส้นทางถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ

 

 

แผนที่เส้นทาง



แผนผังบริเวณภายในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ




ผังบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ

ภาพทิวทัศน์
 


แก่งตะนะ เกิดจากแม่น้ำมูลไหลมาพบดอนตะนะ แล้วสายน้ำจะแยกเป็นสองสายไหลโอบทั้งสองด้านของดอนตะนะ ทำให้เกิดดอนตะนะ แล้วไหลมารวมกันอีกครั้งไหลลงมาทางแก่งตะนะ ซึ่งมีโขดหินมหึมาเป็นเกาะกลางน้ำขวางอยู่ทำให้เกิดเป็นแก่งตะนะขนาดใหญ่และ สวยงาม
 
แก่งตะนะ จุดเล่นน้ำเหนือแก่ง โดยมีเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำ
และรักษาความปลอดภัยให้นักท่องเที่ยว
 

ดอกไม้ประลาด (ดอกส้มเช้า ) เกิดตามแอ่งน้ำในโพร่ง หรือโบกหินกลางป่า ดอกจะบานตอนเช้าเหี่ยวในตอนสาย แต่จะบานอีกในเช้าวันต่อไป และที่มาของชื่อ พืชชนิดนี้กินได้ชาวบ้านนำมากินกับ แจ่ว ปนปลา ปนกบ จะมีรสชาดเปรี้ยวอมหวาน ในช่วงเช้าแต่ในตอนสายจะมีรสขม
กินไม่ได้ มีทั่วไปในป่าของอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ
 
จุดลงเล่นน้ำแก่งตะนะ


 
บริเวณที่แม่น้ำมูล กับแม่น้ำโขงไหลมาบรรจบกัน หรือแม่น้ำสองสี
ป้ายแก่งตะนะ เป็นจุดที่นักท่องเที่ยวนิยมถ่ายภาพเป็นที่ระลึกอีกจุดหนึ่ง
 

จุดชมวิวบนผาด่างซึ่งสามารถมองเห็นหมู่บ้านชาวลาว และสะพานปากแซ เมืองปากแซ
แขวงจำปาสัก ของประเทศลาว
 
ชมพระอาทิตย์ขึ้นที่ผาด่าง จะเห็นพระอาทิตย์ขึ้นพร้อม ๆ กันกับผาชนะได
 

คณะสำรวจชุดแรกที่สำรวจพระทิตย์ขึ้นก่อนใครในสยามที่ผาด่าง จาก ม.อุบลราชธานี
เจ้าหน้าที่ทางจังหวัดอุบลราชธานี และเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ
 
ดอกไม้ป่าที่ขึ้นอยู่ใจกลางดอนตะนะ
 

ปากแม่น้ำมูลยังอุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์น้ำ ชาวบ้านยังได้อาศัยทำการประมงเลี้ยงครอบครัว
 
กิจกรรมเดินป่าค้างคืนดูพระอาทิตย์บนผาด่าง

ดอกต้นรักษ์ใหญ่ ซึ่งกระจายทั่วพื้นป่าแก่งจะบานพร้อมกันทั้งป่า ช่วงปลายหนาวต้นแล้ง
 
จุดชมวิวผาฮัง สามารถมองเห็นสะพานข้ามแมน้ำมูล ที่อยู่อำเภอโขงเจียม

ดอกตะแบกป่า ตะแบกป่าจะมีอยู่ทั่วไปในพื้นที่อทยานแห่งชาติแก่งตะนะ จะมีหลายสายพันธุ์ และส่วนมากจะบานพร้อมกันในฤดูแล้ง ดอกมีขาว สีม่วง สีชมพู มีบางชนิดมีสีโอรส
มองดูเหมือนป่าเป็นสีม่วง
 
สะพานแขวน เป็นชมวิวอีกจุดของแก่งตะนะ ทางทิศตะวันออกจะมองเห็นตัวแก่งตะนะทั้งหมด
ตอนเย็นใช้เป็นจุดชมพระอาทิตย์ตก
 

น้ำตกรากไทร หรือผารากไทร เป็นหน้าผา กว้าง 20 เมตร สูง 30 เมตร ในฤดูฝนจะมีน้ำตก
ไหลลงมาตามรากต้นไทรสวยงามมาก
 


นั่งดูพระอาทิตย์ตกที่โขดหินแก่งตะนะ มองผ่านสะพานแขวน รับลมยามเย็นที่ลานหินติด
แก่งตะนะ ตาดูพระอาทิตย์ตกดิน หูฟังเสียงน้ำไหลลงแก่ง จมูกสูดอากาศบริสุทธิ์ยามเย็น ปากกล่าวชื่นชมความสวยงาม ต้องมาพิสูจน์ด้วยตัวเอง ได้ภาพสวย ๆ อีกภาพแล้ว
 

   

 

ที่มา : http://park.dnp.go.th/visitor/nationparkshow.php?PTA_CODE=1031

 

    ในเขตอุทยานฯ มีสถานที่ท่องเที่ยวดังนี

    ดอนตะนะ เป็นดอนหรือเกาะที่เกิดขวางแม่น้ำมูล มีความกว้างประมาณ 450 เมตร ยาวประมาณ 700 เมตร มีสะพานแขวนทอดข้ามทั้ง 2 ด้านของเกาะทางตอนเหนือของดอนตะนะมีหาดทรายเหมาะแก่การพักผ่อน บนดอนตะนะยังมีป่าอยู่ทั่วไปเป็นสภาพป่าดงดิบแล้งมีต้นไม้ใหญ่ให้ความร่ม รื่นในช่วงเช้าและช่วงเย็นจะมีการทำประมงของชาวบ้านรอบๆเกาะ

    แก่งตะนะ เป็นแก่งกลางลำน้ำมูลที่ใหญ่ที่สุด กลางแก่งตะนะมีโขดหินมหึมาเป็นเกาะกลางลำน้ำมูลที่เกิดจากลำน้ำมูลทั้งสอง สายที่เชี่ยวกรากและจะกัดเซาะลงในแนวหินสูงประมาณ 1 เมตร ถ้าสังเกตเกาะกลางแก่งตะนะจะเห็นสิ่งก่อสร้างรูปสี่เหลี่ยม ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยฝรั่งเศสยังล่าอาณานิคม เพื่อใช้เป็นเครื่องชี้ร่องน้ำในการเดินเรือ นอกจากนี้ยังมีโพรงถ้ำใต้น้ำหลายแห่งจึงทำให้มีปลามาอาศัยบริเวณแก่งตะนะชุก ชุม ช่วงที่เหมาะในการไปเที่ยวคือเดือนมกราคม-พฤษภาคม จุดชมวิวแก่งตะนะที่บริเวณที่ทำการอุทยานฯ นอกจากนี้ยังมีจุดชมวิวแก่งตะนะฝั่งซ้าย (อีกด้านหนึ่งของแม่น้ำมูล) ที่บริเวณทางไปถ้ำเหวสินธุ์ชัย

    สะพานแขวน เป็นสะพานที่เชื่อมจากฝั่งแม่น้ำมูลดอนตะนะโครงสร้างเป็นเหล็กยึดโยงด้วยลวด สลิงขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นจุดชมวิวสองฟากฝั่งของแม่น้ำมูลเหนือแก่งตะนะและใช้เดินข้ามเข้าไป ชมธรรมชาติบนดอนตะนะได้อย่างเพลิดเพลิน

    ถ้ำพระหรือถ้ำภูหมาใน เป็นชะง่อนผายื่นออกจากฝั่งแม่น้ำมูล อดีตเคยมีพระพุทธรูปทองคำ เงินและไม้เป็นจำนวนมากแต่ใน ปัจจุบันได้หายไปแล้วมีแท่นศิวลึงค์ (ฐานโยนี)และแนวอิฐซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างในราวศตวรรษที่ 12-13

    ลานผาผึ้ง เป็นพลาญหินทรายและเป็นหน้าผาชันโดยหน้าผาจะหันหน้าสู่ด้านทิศตะวันออกเหมาะ แก่การชมวิวช่วงพระอาทิตย์ขึ้นและสามารถมองวิวประเทศลาวได้ ลานผาผึ้งอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯประมาณ 1.5 กิโลเมตร รถยนต์เข้าถึงหรือจะเดินเท้าตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติเลียบฝั่งแม่น้ำมูลได้ เช่นกัน

    เส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกรากไทร อยู่บริเวณหน้าผาริมแม่น้ำมูล ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวประมาณ 500 เมตร มีเส้นทางเดินเลียบผาระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร ผ่านจุดชมพืชพันธุ์ ไลเคนส์ มอส เฟิร์น ถ้ำพระและน้ำตกรากไทร เหมาะสำหรับการเดินป่าชมธรรมชาติในช่วงเวลาสั้นๆ

    น้ำตกตาดโตน ตั้งอยู่บนทางหลวงหมายเลข 2173 ซึ่งแยกจากทางหลวงหมายเลข 217 เข้าไปประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามมากแห่งหนึ่ง เกิดจากลำห้วยตาดโตน ไหลผ่านลานหินแล้วตกลงสู่ที่ลุ่ม เกิดเป็นแอ่งน้ำสามารถลงเล่นน้ำได้ มีน้ำเย็นใสสะอาด บริเวณโดยรอบเป็นป่าไม้และดอกไม้นานาพรรณ

    ค่าเข้าอุทยานฯ ผู้ใหญ่ คนละ 20 บาท เด็ก คนละ 10 บาท ชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ คนละ 100 บาท เด็ก คนละ 50 บาท
    

รายละเอียดติดต่อกรมอุทยานแห่งชาติ บริเวณที่ทำการอุทยานฯมีบ้านพักไว้บริการนักท่องเที่ยวสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรุงเทพฯ โทร. 0 2562 0760
    หรือที่ทำการอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะโทร. 0 4524 9802, 0 4244 2002

 

แผนที่ อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ

ดู อุบลราชธานี ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.dnp.go.th