เขื่อนสิรินธร เป็นเขื่อนหินถมแกนดินเหนียวซึ่งสร้างกั้นลำโดมน้อยอันเป็นสาขาของแม่น้ำ
มูลเมื่อปี พ.ศ. 2514
มีจุดมุ่งหมายในการสร้างขึ้นเพื่อผลิตไฟฟ้าและเป็นแหล่งน้ำในการชลประทาน
นอกจากนั้นยังเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของคนในพื้นที่ละแวกใกล้เคียงรวมถึง
ทั้งนักท่องเที่ยวซึ่งเดินทางผ่านไปมาเพื่อที่จะท่องเที่ยวระหว่างตัว
อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ย่านอุทยานแห่งชาติผาแต้มอีกด้วย
การเดินทางมาท่องเที่ยวเขื่อนโดยส่วนใหญ่ทั่วๆไปนั้นไม่มีสาระสำคัญอะไรมาก
ไปกว่าการมาชมทัศนีย์ภาพเหนือสันเขื่อน ,รับประทานปลาสดจากร้านอาหารสวัสดิการ
,ล่องเรือเที่ยว ,ตีกอล์ฟ ,ถ่ายรูปหรือนั่งนอนหย่อนอารมณ์ภายในสวนหย่อมซึ่งตกแต่งไว้อย่างสวยงาม
หากเขื่อนบางแห่งมีที่พักแบบเรือนแพไว้คอยให้บริการ
การเลือกนอนพักสบายๆในแพที่พักริมน้ำก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ไม่เลวเช่น
กัน
(ภายใน
เขื่อนสิรินธร ไม่มีแพพักไว้คอยให้บริการ
หากต้องการพักแพริมน้ำต้องลองสอบถามแถวๆ หาดพัทยา สิรินธร
ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเขื่อนออกไปอีกไม่ไกลเท่าไหร่ดู
แต่จากการสำรวจของทีมงานท่องเที่ยวดอทคอมคิดว่าบริเวณ หาดพัทยา
สิรินธร
นั้นก็อาจไม่มีเรือนแพสภาพดีที่พอพักค้างคืนได้สักเท่าไหร่นักอยู่เช่นเดียว
กัน เนื่องจากส่วนใหญ่จะเป็นเรือนแพร้างที่ไม่มีคนเฝ้าค่ะ)
ใครที่ชอบการท่องเที่ยวในลักษณะดังกล่าวข้างต้น
การเดินทางมาท่องเที่ยวยัง เขื่อนสิรินธร
ก็คงไม่ทำให้คุณรู้สึกว่าเสียเที่ยวหรือสิ้นเปลืองเวลาสักเท่าไหร่นัก
ริมทะเลสาบที่เขื่อนสิรินธร และปะติมากรรมช้างเล่นดนตรี
บรรยากาศอันร่มรื่นสดชื่นภายในสวนของเขื่อนสิรินธรและใบของต้นไม้สีทองซึ่งหาชมได้ยาก
ปะติมากรรมช้างเล่นดนตรีอีกหนึ่งมุม
ดอกของต้นไม้สีทองและหลวงพ่อสิริสัตราช (หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์)
ภายใน เขื่อนสิรินธร
นั้นนอกจากจะมีทัศนีย์ภาพของทะเลสาบเหนือสันเขื่อนที่สวยงามแล้วยังมี
สวนสิรินธร
อันเป็นที่ตั้งของประติมากรรมช้างสามเชือกตีระนาด
สีซอและเป่าขลุ่ย
ซึ่งเครื่องดนตรีทั้งสามชนิดนี้เป็นเครื่องดนตรีที่สมเด็จพระเทพรัตนราช
สุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงโปรดปราน
และสวนนี้ยังเป็นที่ประดิษฐานของ พระพุทธสิริสัตตราช
(หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์)
พระพุทธรูปซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของ น้ำแห่งเขื่อน ที่ทาง กฟผ.ได้รับอนุญาตให้สร้างจำลองไว้ตามเขื่อนต่างๆที่อยู่ภายใต้การดูแลอีก
ด้วย
(นอกจากที่ เขื่อนสิรินธร แล้ว พระพุทธสิริสัตราช
นั้นยังถูกสร้างจำลองประดิษฐานไว้ ณ เขื่อนอื่นๆอีก เช่น
เขื่อนภูมิพล เขื่อนศรีนครินทร์ เป็นต้น) บรรยากาศภายใน
สวนสิรินธร ร่มรื่นชื่นเย็นไปด้วยแมกไม้น้อยใหญ่
มีม้านั่งหินไว้สำหรับผู้ที่ต้องการนั่งพักผ่อนหย่อนใจ
บริเวณริมทะเลสาบใกล้กับอาคารร้านอาหารสวัสดิการมีศาลาริมน้ำขนาดใหญ่
ที่คุณสามารถไปยืนชมทิวทัศน์ริมน้ำได้ใกล้ๆ
เดินต่อจากบริเวณดังกล่าวไปทางลานจอดรถไม่ไกลจะพบกับสวนหย่อมเล็กๆอีกแห่ง
หนึ่งและต้น ย่านดาโอ๊ะ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ต้นไม้สีทอง
ปกติแล้วพันธุ์ไม้ชนิดนี้เป็นพันธุ์ไม้หายากซึ่งจะขึ้นอยู่บริเวณ
น้ำตกปาโจ ในอุทยานแห่งชาติเทือกเขาบูโด สุไหงปาดี จ.นราธิวาส
ใบมีสีน้ำตาลแดงแกมทอง มีขนคล้ายกำมะหยี่
รูปร่างของใบมีลักษณะคล้ายใบกาหลง ใบชงโค และใบโยทกา
ออกดอกทั้งปี
ลักษณะดอกมีสีขาวรวมกลุ่มเป็นช่อกระจายตามปลายกิ่ง หากคุณๆ
ท่านๆ ทั้งหลายเคยไปเดินตามงาน OTOP
ประจำปีจะสังเกตเห็นว่ามีร้านค้าบางร้านนำใบของต้นย่านดาโอ๊ะมาเคลือบใส่
กรอบจำหน่ายเป็นสินค้าที่ระลึกในฐานะของ ใบไม้นำโชค
ใครอยากเห็นต้น ดอกและใบเป็นๆของต้นไม้สีทองลองมาดูได้ ณ เขื่อนสิรินธร
จ.อุบลราชธานี แทนที่จะต้องไปไกลถึง จ.นราธิวาสครับ
หลังจากเดินเที่ยวพอได้เหงื่อแล้วหากยังพอมีเวลาอาจมานั่งละเลียดอาหาร
บริเวณร้านสวัสดิการริมทะเลสาบ บรรยากาศในร้านเย็นสบาย
มีลมจากผืนน้ำพัดเข้าสู่แผ่นดินผ่านตัวร้านอยู่ตลอดเวลา
ทัศนีย์ภาพมองจากด้านในร้านอาหารออกไปยังภายนอกสวยงามยิ่ง
ทีมงานท่องเที่ยวดอทคอม(www.thongteaw.com)แอบ
สำรวจรายการอาหารต่างๆดูแล้วคิดว่ามีอาหารน่ากินหลายอย่างแถมราคาไม่แพง
น่าเสียดายที่ทีมงานของเรามีเวลาในการเก็บข้อมูลค่อนข้างจำกัดทำให้ต้องรีบ
เดินทางต่อไปยังตลาดชายแดนช่องเม็ก
เลยอดรับประทานอาหารเคล้าบรรยากาศดีๆที่ริมน้ำเขื่อนสิรินธรไป
บรรยากาศโดยรอบด้านล่างอ่างเก็บน้ำ
บนสันเขื่อน
และภาพทิวทัศน์ท้องน้ำของอ่างเก็บน้ำที่เขื่อนสิรินธร
พักผ่อนหย่อนใจคลายอารมณ์ที่เขื่อนสิรินธร
เขื่อนสิรินธร
มีบ้านพักรับรองของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตอยู่ริมทะเลสาบและมีสนามกอล์ฟไว้คอยให้
บริการ
ใครต้องการหาที่พักค้างแรมใกล้ๆกับตลาดชายแดนช่องเม็กทีมงานของเราแนะนำว่า
การเลือกพัก ณ บ้านพักรับรองของ เขื่อนสิรินธร
ก็เป็นหนึ่งในทางเลือกที่ดีทางหนึ่ง
(แต่
ทีมงานท่อง เที่ยวดอทคอมของเราไม่มีโอกาสได้พัก ณ
บ้านพักรับรองของ เขื่อนสิรินธร
เนื่องจากในช่วงเวลาที่เราโทรศัพท์มาจองนั้นที่พักของเขื่อนเต็มหมดแล้ว
ค่ะ)
การเดินทาง : ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 ออกจากตัว
อ.เมือง จ.อุบลราชธานี (ด้านสะพานเสรีประชาธิปไตย) มุ่งไปทาง
อ.วารินชำราบ จาก อ.วารินชำราบใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 217
ขับตรงไปเรื่อยๆ จนถึง อ.สิรินธร ทางเข้า เขื่อนสิรินธร
จะอยู่ด้านขวามือบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 217 เลยจากตัว อ.สิรินธรไปไม่ไกล
(ก่อนถึง
อ.สิรินธร จะเห็น หาดพัทยา สิรินธร
กว้างไกลสุดลูกหูลูกตาด้านขวามือของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 217
สามารถแวะพักผ่อนก่อนเข้าตัวเมืองได้ค่ะ) โทรศัพท์ :
045-366-085 , 045-366-081-3
แผนที่ เขื่อนสิรินธร
ดู
อุบลราชธานี ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า
ขอขอบคุณ : ข้อมูลการท่องเที่ยว เขื่อนสิรินธร
บางส่วนจากหนังสือเที่ยวทั่วไทยไปกับนายรอบรู้ จ.อุบลราชธานี
ของสำนักพิมพ์สารคดีค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.guideubon.com/
|