หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551
โรงเรียนเบ็ตตี้ดูเมน 2 ช่องเม็ก
วิสัยทัศน์
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน
ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย
ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก
ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ
การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต
โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ
หลักการ
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหลักการที่สำคัญดังนี้
1.
เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ
มีจุดมุ่งหมายและมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาชนให้มีความรู้
ทักษะ เจตคติและคุณธรรมบนพื้นฐานของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล
2.
เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน
ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาคและมีคุณภาพ
3.
เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ
ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น
4.
เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้
เวลาและการจัดการเรียนรู้เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
5.
เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย
ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์
จุดหมาย
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี
มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ
จึงกำหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียนเมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ดังนี้
1.
มีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง
มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ
ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2.
มีความรู้ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา
การใช้เทคโนโลยีและมีทักษะชีวิต
3.
มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย
4.
มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก
ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
5.
มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย
การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม
และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้
ซึ่งการพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดนั้น
จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้
1.
ความสามารถในการสื่อสาร
เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด
ความรู้ความเข้าใจ
ความรู้สึกและทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม
รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ
การเลือกรับและไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง
ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม
2.
ความสามารถในการคิด
เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์
การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดเป็นระบบ
เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม
3.
ความสามารถในการแก้ปัญหา
เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรค์ต่างๆ
ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักการเหตุผล
คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ
เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่างๆ ในสังคม
แสวงหาความรู้
ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาละมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อตนเอง
สังคมและสิ่งแวดล้อม
4.
ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่างๆ ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
การทำงานและการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล
การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่างๆ
อย่างเหมาะสมการปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม
และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น
5.
ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
เป็นความสามารถในการเลือกและใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ
และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาตนเองและสังคมในด้านการเรียนรู้
การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างร้าสรรค์
ถูกต้องเหมาะสมและมีคุณธรรม
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ดังนี้
1. รักชาติ
ศาสน์ กษัตริย์
2.
ซื่อสัตย์สุจริต
3. มีวินัย
4.
ใฝ่เรียนรู้
5.
อยู่อย่างพอเพียง
6.
มุ่งมั่นในกรทำงาน
7.
รักความเป็นไทย
8.
มีจิตสาธารณะ
มาตรฐานการเรียนรู้
การพัฒนาผู้เรียนเกิดความสมดุล
ต้องคำนึงถึงหลักการพัฒนาทางสมองและพหุปัญญา
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงกำหนดให้ผู้เรียนเรียนรู้ 8
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ดังนี้
1.
ภาษาไทย
2.
คณิตศาสตร์
3.
วิทยาศาสตร์
4.
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
5.
สุขศึกษาและพลศึกษา
6. ศิลปะ
7.
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
8.
ภาษาต่างประเทศ
ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้
เป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
ระบุสิ่งที่ผู้เรียนพึงรู้และปฏิบัติได้
มีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียนเมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
นอกจากนั้นมาตรฐานการเรียนรู้ยังเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนพัฒนาการศึกษาทั้งระบบเพราะมาตรฐานการเรียนรู้จะสะท้อนให้ทราบว่าต้องการอะไร
จะสอนอย่างไรและประเมินผลอย่างไร
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มุ่งให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองตามศักยภาพ
พัฒนาอย่างรอบด้านเพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย สติปัญญา
อารมณ์ สังคม เสริมสร้างให้เป็นผู้มีศีลธรรม จริยธรรม
มีระเบียบวินัยปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกของการทำประโยชน์เพื่อสังคม
สามารถจัดการตนเองได้
และอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุขกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แบ่งเป็น
3 ลักษณะ ดังนี้
1.
กิจกรรมแนะแนว เป็นกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเอง
รู้รักษ์สิ่งแวดล้อม สามารถคิดตัดสินใจ คิดแก้ปัญหา กำหนดเป้าหมาย
วางแผนชีวิตทั้งด้านการเรียนและอาชีพ สามารถปรับตนได้อย่างเหมาะสม
นอกจากนี้ยังช่วยให้ครูรู้จักและเข้าใจผู้เรียนทั้งยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่ผู้ปกครองนักเรียนในการมีส่วนร่วมพัฒนาผู้เรียน
2.
กิจกรรมนักเรียน เป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนาความมีระเบียบวินัย
ความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความรับผิดชอบ การทำงานร่วมกัน
การรู้จักแก้ปัญหาการตัดสินใจที่เหมาะสม ความมีเหตุผล
การช่วยเหลือแบ่งปันกัน
เอื้ออาทรและสมานฉันท์โดยจัดให้สอดคล้องกับความสามารถ
ความถนัดและความสนใจของผู้เรียน
ให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติด้วยตนเองในทุกขั้นตอนได้แก่การศึกษาวิเคราะห์วางแผน
ปฏิบัติตามแผน ประเมินและปรับปรุงการทำงาน
เน้นการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับวุฒิภาวะของผู้เรียน
ปริบทของสถานศึกษาและท้องถิ่น กิจกรรมนักเรียน ประกอบด้วย
2.1
กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี/ลูกเสือวิสามัญ/ผู้บำเพ็ญประโยชน์/นักศึกษาวิชาทหาร
2.2
กิจกรรมชุมนุม
3.
กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม
ชุมชนและท้องถิ่นตามความสนใจในลักษณะอาสาสมัคร
เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบ ความดีงาม ความเสียสละต่อสังคม
มีจิตสาธารณะ เช่น กิจกรรมอาสาพัฒนาต่าง ๆ กิจกรรมสร้างสรรค์สังคม
การจัดเวลาเรียน
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ได้กำหนดกรอบโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐานขั้นต่ำสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้
8
กลุ่ม และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ซึ่งสถานศึกษาสามารถเพิ่มเติมได้ตามความพร้อมและจุดเน้น
โดยสามารถปรับให้เหมาะสมตามบริบทของสถานศึกษาและสภาพของผู้เรียน ดังนี้
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
( ชั้นมัธยมศึกษาปีที่
13
) ให้จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค มีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 6
ชั่วโมงต่อวัน คิดน้ำหนักของรายวิชาที่เรียนเป็นหน่วยกิต ใช้เกณฑ์
40 ชั่วโมงต่อภาคเรียน มีค่าน้ำหนักวิชาเท่ากับ 1.0
หน่วยกิต (นก.)
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
(ชั้นมัธยมศึกษาปีที่
46)
ให้จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค มีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 6
ชั่วโมงต่อวัน คิดน้ำหนักของรายวิชาที่เรียนเป็นหน่วยกิต ใช้เกณฑ์
40 ชั่วโมงต่อภาคเรียน มีค่าน้ำหนักวิชาเท่ากับ
1.0 หน่วยกิต (นก.)
การกำหนดโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐานและเพิ่มเติม
สถานศึกษาสามารถดำเนินการ ดังนี้
ระดับมัธยมศึกษา
ต้องจัดโครงสร้างเวลาเรียนพื้นฐานให้เป็นไปตามที่กำหนด
และสอดคล้องกับเกณฑ์การจบหลักสูตร
สำหรับเวลาเรียนเพิ่มเติมทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
ให้จัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติมหรือกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
โดยพิจารณาให้สอดคล้องกับความพร้อม
จุดเน้นของสถานศึกษาและเกณฑ์การจบหลักสูตร
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่กำหนดไว้ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีละ 120 ชั่วโมง และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 46
จำนวน 360 ชั่วโมงนั้น
เป็นเวลาสำหรับปฏิบัติกิจกรรมแนะแนวกิจกรรมนักเรียนและกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
ในส่วนกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ให้สถานศึกษาจัดสรรเวลาให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรม
ดังนี้
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ( ม. 1 3 ) รวม
3 ปี จำนวน 45 ชั่วโมง
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม. 4 6 ) รวม 3 ปี จำนวน 60
ชั่วโมง
เกณฑ์การวัดและประเมินผลการเรียน
1. การตัดสิน
การให้ระดับและการรายงานผลการเรียน
1.1
การตัดสินผลการเรียน
ในการตัดสินผลการเรียนของกลุ่มสาระการเรียนรู้ การอ่าน คิด
วิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนนั้น
ผู้สอนต้องคำนึงถึงการพัฒนาผู้เรียนแต่ละคนเป็นหลัก
และต้องเก็บข้อมูลของผู้เรียนทุกด้านอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องในแต่ละภาคเรียน
รวมทั้งสอนซ่อมเสริมผู้เรียนให้พัฒนาจนเต็มตามศักยภาพ
ระดับมัธยมศึกษา
(1)
ตัดสินผลการเรียนเป็นรายวิชา
ผู้เรียนต้องมีเวลาเรียนตลอดภาคเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
ของเวลาเรียนทั้งหมดในรายวิชานั้นๆ
(2)
ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินทุกตัวชี้วัด
และผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
(3)
ผู้เรียนต้องได้รับการตัดสินผลการเรียนทุกรายวิชา
(4)
ผู้เรียนต้องได้รับการประเมิน
และมีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
ในการอ่านคิดวิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์
และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
การพิจารณาเลื่อนชั้นทั้งระกับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
ถ้าผู้เรียนมีข้อบกพร่องเพียงเล็กน้อยและสถานศึกษาพิจารณาเห็นว่าสามารถพัฒนาและสอนซ่อมเสริมได้
ให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษาที่จะผ่อนผันให้เลื่อนชั้นได้
แต่หากผู้เรียนไม่ผ่านรายวิชาจำนวนมาก
และมีแนวโน้มว่าจะเป็นปัญหาต่อการเรียนในระดับชั้นที่สูงขึ้น
สถานศึกษาอาจตั้งคณะกรรมการพิจารณาให้เรียนซ้ำชั้นได้
ทั้งนี้ให้คำนึงถึงวุฒิภาวะและความรู้ความสามารถของผู้เรียนเป็นสำคัญ
1.2
การให้ระดับผลการเรียน
ระดับมัธยมศึกษา
การตัดสินเพื่อให้ระดับผลการเรียนรายวิชา
ให้ใช้ตัวเลขแสดงระดับผลการเรียนเป็น 8 ระดับ
การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน
และคุณลักษณะอันพึงประสงค์นั้น ให้มีระดับผลการประเมินเป็นดีเยี่ยม ดี
ผ่าน และไม่ผ่าน
การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
จะต้องพิจารณาทั้งเวลาการเข้าร่วมกิจกรรม
การปฏิบัติกิจกรรมและผลงานของผู้เรียน ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
และให้ผลการเข้าร่วมกิจกรรมเป็นผ่านและไม่ผ่าน
1.3
การรายงานผลการเรียน
การรายงานผลการเรียนเป็นการสื่อสารให้ผู้ปกครองและผู้เรียนทราบความก้าวหน้าในการเรียนของผู้เรียน
ซึ่งสถานศึกษาต้องสรุปผลการประเมินและจัดทำเอกสารรายงานให้ผู้ปกครองทราบเป็นระยะๆ
หรือย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง
การรายงานผลการเรียนสามารถรายงานเป็นระดับคุณภาพการปฏิบัติของผู้เรียนที่สะท้อนมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้
2.
เกณฑ์การจบการศึกษา
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กำหนดเกณฑ์กลางสำหรับการจบการศึกษาเป็น 3 ระดับคือ ระดับประถมศึกษา
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
2.1
เกณฑ์การจบระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
(1)
ผู้เรียนเรียนรายวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติม โดยเป็นรายวิชาพื้นฐาน 66
หน่วยกิต
และรายวิชาเพิ่มเติมตามที่สถานศึกษากำหนด
(2) ผู้เรียนต้องได้หน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า
77 หน่วยกิต โดยเป็นรายวิชาพื้นฐาน 66หน่วยกิต
และรายวิชาเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า 11 หน่วยกิต
(3) ผู้เรียนมีผลการประเมินการอ่าน
คิดวิเคราะห์และเขียนในระดับผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด
(4)
ผู้เรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ในระดับผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด
(5)
ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและมีการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด
2.3
เกณฑ์การจบระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
1. ผู้เรียนเรียนรายวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติม
โดยเป็นรายวิชาพื้นฐาน
41
หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติมตามที่สถานศึกษากำหนด
2. ผู้เรียนต้องได้หน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า
77 หน่วยกิต โดยเป็นรายวิชาพื้นฐาน
41
หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติม ไม่น้อยกว่า 36
หน่วยกิต
3. ผู้เรียนมีผลการประเมิน การอ่าน
คิดวิเคราะห์และเขียนในระดับผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด
4. ผู้เรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ในระดับผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด
5.
ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและมีการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่สถานศึกษากำหนด
สำหรับการจบการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เช่น การศึกษาเฉพาะทาง
การศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ การศึกษาทางเลือก
การศึกษาสำหรับผู้ด้อยโอกาส การศึกษาตามอัธยาศัย
ให้คณะกรรมการของสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้อง
ดำเนินการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักเกณฑ์ในแนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ
เอกสารหลักฐานการศึกษา
เอกสารหลักฐานการศึกษา เป็นเอกสารสำคัญที่บันทึกผลการเรียน
ข้อมูลและสารสนเทศ ที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการของผู้เรียนในด้านต่าง ๆ
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1.
เอกสารหลักฐานการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
1.1
ระเบียนแสดงผลการเรียน
เป็นเอกาสารแสดงผลการเรียนและรับรองผลการเรียนของผู้เรียนตามรายวิชา
ผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน
ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษาและผลการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
สถานศึกษาจะต้องบันทึกข้อมูลและออกเอกสารให้ผู้เรียนรายบุคคลเมื่อผู้เรียนจบการศึกษาระดับประถมศึกษา
(ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6) จบการศึกษาภาคบังคับ (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3)
จบการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6)
หรือเมื่อออกจากสถานศึกษาในทุกกรณี
1.2
ประกาศนียบัตร
เป็นเอกสารแสดงวุฒิการศึกษาเพื่อรับรองศักดิ์และสิทธิ์ของผู้จบการศึกษา
ที่สถานศึกษาให้ไว้แก่ผู้จบการศึกษาภาคบังคับ
และผู้จบการศึกษาขั้นพื้นฐานตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1.3 แบบรายงานผู้สำเร็จการศึกษา
เป็นเอกสารอนุมัติการจบหลักสูตรโดยบันทึกรายชื่อและข้อมูลของผู้จบการศึกษาระดับประถมศึกษา
(ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6) จบการศึกษาภาคบังคับ (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3)
จบการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6)
2.
เอกสารหลักฐานการศึกษาที่สถานศึกษากำหนด
เป็นเอกสารที่สถานศึกษาจัดทำขึ้นเพื่อบันทึกพัฒนาการ
ผลการเรียนรู้และข้อมูลสำคัญ เกี่ยวกับผู้เรียน เช่น
แบบรายงานประจำตัวนักเรียน แบบบันทึกผลการเรียนประจำรายวิชา
ระเบียนสะสม ใบรับรองผลการเยน และเอกสารอื่น ๆ
ตามวัตถุประสงค์ของการนำเอกสารไปใช้
การเทียบโอนผลการเรียน
สถานศึกษาสามารถเทียบโอนผลการเรียนของผู้เรียนในกรณีต่าง ๆ ได้แก่
การย้ายสถานศึกษา การเปลี่ยนรูปแบบการศึกษา การย้ายหลักสูตร
การออกกลางคันและขอกลับเข้ารับการศึกษาต่อ
การศึกษาจากต่างประเทศและขอเข้าศึกษาต่อในประเทศ
นอกจากนี้ยังสามารถเทียบโอนความรู้ ทักษะ
ประสบการณ์จากแหล่งเรียนรู้อื่นๆ เช่น สถานประกอบการ สถาบันศาสนา
สถาบันการฝึกอบรมอาชีพ การจัดการศึกษาโดยครอบครัว
การเทียบโอนผลการเรียน ควรดำเนินการในช่วยก่อนเปิดภาคเรียน
หรือต้นภาคเรียนที่สถานศึกษารับผู้ขอเทียบโอนผู้เรียน
ทั้งนี้ ผู้เรียนที่ได้รับการเทียบโอนผลการเรียนต้องศึกษาต่อ
เนื่องในสถานศึกษาที่รับเทียบโอนอย่างน้อย
1 ภาคเรียน
โดยสถานศึกษาที่รับผู้เรียนจากการเทียบโอนควรกำหนดรายวิชา / จำนวนหน่วยกิตที่จะรับเทียบโอนตามความเหมาะสม
การพิจารณาการเทียบโอน สามารถดำเนินการได้ ดังนี้
1.
พิจารณาจากหลักฐานการศึกษา และเอกสารอื่น ๆ ที่ให้ข้อมูลแสดงความรู้
ความสามารถของผู้เรียน
2.
พิจารณาความรู้
ความสามารถของผู้เรียนโดยทดสอบด้วยวิธีการต่าง ๆ
ทั้งภาคความรู้และภาคปฏิบัติ
3.
พิจารณาจากความสามารถและการปฏิบัติในสภาพจริง
การเทียบโอนผลการเรียนให้เป็นไปตามประกาศ
หรือแนวปฏิบัติของกระทรวงศึกษาธิการ สำหรับการเทียบโอนเข้าสู่การศึกษาในระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ให้ดำเนินการตามแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการเทียบโอนผลการเรียนเข้าสู่การศึกษาในระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
|